เมนู

โพชฌงค์ 7 นัยที่ 3


บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงนัยที่ 3 อันเป็นไปด้วยสามารถแห่งการเจริญ
โพชฌงค์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า สตฺต โพชฺฌงฺคา
เป็นอาทิอีก. แม้ในอธิการนี้ บัณฑิตพึงทราบการพรรณนาบท โดยลำดับ
ดังนี้.
บทว่า ภาเวติ ได้แก่ ย่อมเจริญ คือ ย่อมให้เกิด ให้บังเกิดยิ่งใน
สันดานของตนบ่อยๆ. บทว่า วิเวกนิสฺสิตํ ได้แก่ อันอาศัยวิเวก. บทว่า
วิเวโก ได้แก่ วิเวกคือความสงัด. อนึ่ง วิเวกนี้มี 5 อย่าง คือ ตทังควิเวก
วิกขัมภนวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก นิสสรณวิเวก บรรดา
วิเวกเหล่านั้น วิปัสสนา ชื่อว่า ตทังควิเวก. สมาบัติ 8 ชื่อว่า วิกขัม-
ภนวิเวก. มรรค ชื่อว่า สมุจเฉทวิเวก. ผล ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิวิเวก.
พระนิพพาน อันสละซึ่งนิมิตทั้งปวง ชื่อว่า นิสสรณวิเวก.
บัณฑิตพึง
ทราบเนื้อความนีว่า พระโยคีย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยซึ่งตทังควิเวก
อาศัยซึ่งสมุจเฉทวิเวก อาศัยซึ่งนิสสรณวิเวก โดยหมายเอาในคำว่า วิเวก 5
จึงชื่อว่า อาศัยซึ่งวิเวก. จริงอย่างนั้น พระโยคีนี้ ประกอบเนือง ๆ ด้วยการ
ประกอบในการเจริญสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยตทังค-
วิเวก โดยกิจในขณะแห่งวิปัสสนา อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอัชฌาสัย
(อชฺฌาสยโต) แต่ในกาลแห่งมรรค อาศัยซึ่งสมุทเฉทวิเวกโดยกิจ อาศัยซึ่ง
สมุทเฉทวิเวกโดยกิจ อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอารมณ์.
อาจารย์บางพวก กล่าวว่า อาศัยวิเวกทั้ง 5 อย่าง ก็มี. จริงอยู่
อาจารย์เหล่านั้น ไม่ยกโพชฌงค์ทั้งหลายขึ้นในขณะที่วิปัสสนา มรรคและผล
มีกำลังอย่างเดียว ยังยกขึ้นแม้ในกสิณฌาน อานาปานฌาน อสุภฌาน พรหม-

วิหารฌานอันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา. อนึ่ง ข้อนี้พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย
ไม่ปฏิเสธ เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยมติของอาจารย์เหล่านั้น พระโยคีย่อมเจริญ
สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิกขัมภนวิเวกโดยกิจในขณะที่เป็นไปของฌานเหล่า
นั้นนั่นแหละ. อนึ่ง ท่านกล่าวว่า เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยนิสสรณวิเวก
โดยอัชฌาสัยในขณะแห่งวิปัสสนา ฉันใด แม้จะกล่าวว่า เจริญสติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยปฏิปัสสัทธิวิเวก ดังนี้ ก็ควร. ในคำว่า อาศัยซึ่งวิราคะเป็นต้น
ก็นัยนี้เหมือนกัน.
จริงอยู่ วิราคะเป็นต้น ก็มีวิเวกเป็นอรรถนั่นแหละ. อนึ่ง โวสสัคคะ
(ความสละหรือการถอน) มีเพียง 2 อย่าง คือ ปริจาคโวสสัคคะ และปักขันทน-
โวสสัคคะ. ในโวสสัคคะ 2 นั้น การละกิเลสด้วยสามารถแห่งตทังควิเวก
ในขณะแห่งวิปัสสนา และด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทวิเวกในขณะ
แห่งมรรค ชื่อว่า ปริจาคโวสสัคคะ. การแล่นไปสู่พระนิพพานใน
ขณะแห่งวิปัสสนาโดยความเป็นผู้น้อมไปสู่ตทงควิเวกนั้น แต่ในขณะ
แห่งมรรคโดยการกระทำให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า ปักขันทนโวสสัคคะ.

โวสสัคคะแม้ทั้งสองนั้น ย่อมควรในนัยแห่งการพรรณนาอันเจือด้วยโลกิยะ
และโลกุตตระนี้. จริงอย่างนั้น สติสัมโพชฌงค์นี้ ย่อมสละกิเลสทั้งหลาย
โดยประการตามที่กล่าวแล้วด้วย ย่อมแล่นไปสู่นิพพานด้วย ฉะนี้.
บัณฑิตพึงทราบว่า ก็การที่น้อมไปอยู่ น้อมไปแล้ว ถึงที่สุดอยู่ ถึง
ทีสุดแล้วด้วยคำทั้งสิ้นนี้ว่า โวสฺสคฺคปริณามึ (น้อมไปเพื่อสละ) ซึ่งมีการ
สละเป็นอรรถ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้ว่า ก็ภิกษุนี้ ประกอบเนืองๆ
ในการเจริญโพชฌงค์ฉันใด สติสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงผล ซึ่งมีการสละกิเลส
อันมีโวสสัคคะเป็นอรรถด้วย ย่อมบรรลุผลอันมีการแล่นไปสู่พระนิพพานอันมี

โวสสัคคะเป็นอรรถด้วย ฉันใด ก็สติสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมถึงที่สุดรอบ ฉันใด
ภิกษุย่อมยังสติสัมโพชฌงค์นั้น ให้เจริญฉันนั้นเถิด. แม้ในโพชฌงค์ที่เหลือ
ก็นัยนี้. ในนัยแม้นี้ ท่านก็กล่าวว่า โพชฌงค์ทั้งหลาย เจือด้วยโลกิยะ
และโลกุตตระ
แล.
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย


ในอภิธรรมภาชนีย์ มี 2 นัย

ด้วยสามารถแห่งการถาม
ตอบโพชฌงค์แม้ทั้ง 7 โดยรวมกัน และด้วยสามารถแห่งการถามตอบโพชฌงค์
ทั้ง 7 โดยแยกกัน พึงทราบอรรถกถาวรรณนาแห่งโพชฌงค์เหล่านั้น ด้วย
นัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. ส่วนในนิทเทสแห่งอุเปกขาสัม-
โพชฌงค์ ชื่อว่า อุเบกขา ด้วยสามารถแห่งการวางเฉย. อาการ (กิริยา)
แห่งการวางเฉย ชื่อว่า กิริยาที่วางเฉย. ชื่อว่า อุเบกขา เพราะอรรถว่า
ย่อมเพ่ง ย่อมไม่ท้วงธรรมทั้งหลาย อันกำลังเป็นไปด้วยดีซึ่งควรแก่การเพ่ง.
ชื่อว่า กิริยาที่เพ่ง เพราะอรรถว่า ย่อมยังบุคคลให้เข้าไปเพ่ง. กิริยาที่เพ่ง
อันยิ่ง โดยกิริยาที่เพ่งเป็นโลกีย์อันบรรลุความเป็นโพชฌงค์ ชื่อว่า ความ
เพ่งเล็งยิ่ง.
ภาวะแห่งความเป็นกลาง โดยการเป็นไปและไม่เป็นไป ชื่อว่า
มัชฌัตตตา (ความเป็นกลาง) ท่านกล่าวว่า มัชฌัตตตาแห่งจิต ก็เพื่อแสดง
ว่า มัชฌัตตตานั้น เป็นของจิต มิใช่เป็นของสัตว์ ดังนี้แล. นี้เป็นการพรรณนา
บทตามลำดับในอภิธรรมภาชนีย์นี้.